ชื่อสมุนไพร |
มะกรูด
|
|
|
ชื่อล้านนา |
มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
|
ชื่อสามัญ |
Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Citrus hystrix DC.
|
ชื่อวงศ์ |
RUTACEAE
|
สรรพคุณทั่วไป |
ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผล - แก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร , น้ำมะกรูด - ใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี , เนื้อของผล – ใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ , ใบมะกรูด - ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด , ผลมะกรูด – ที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ , กรด Citric - ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย , น้ำมันจากผิวมะกรูด - ช่วยให้ผมดกเป็นเงางามใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก
|
สรรพคุณตามส่วนที่ใช้ทำยา |
ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ
|
แหล่งอ้างอิง |
Verheij, E.W.M. and Coronel, R.E. (Editors), 1992. Plant Resources of South-East Asia No 2. Edible fruits and d/index.php?topic=2210.0
|
|
บุณยะประภัศร, นันทวัน. 2539. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1). บริษัท ประชาชน จำกัด. กรุงเทพฯ. หน้า 283-5.
|
|
พงษ์บุญรอด, เสงี่ยม. 2522. ไม้เทศเมืองไทย. กรุงเทพฯ. หน้า 397.
|
|
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/28/backyard/makrodd.html
|
|
http://myveget.com/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |