ฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้านล้านนา

Maejo Lanna Medicine : MLM

 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
» หน้าแรก
» ประวัติตำรับยาล้านนา
» ค้นหาสมุนไพรในตำรับยา
» ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
» หมอเมืองล้านนา
» สมุนไพรในตำรับยาหมอเมืองล้านนา
» ตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
» ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพร
» ประสบการณ์ผู้ใช้สมุนไพร
» งานวิจัยสมุนไพรในตำรับยา
» VDO สมุนไพรตำรับยา
» facebook คณะผลิตกรรมการเกษตร
» คณะทำงาน
» ผู้ดูแลระบบ
 
 

:: เกี่ยวกับโครงการ ::     

              โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากโครงการวิจัย (research project) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามมติคณะรัฐมนตรี   ซึ่งมีแนวคิดในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนส่วนใหญ่  หันมาให้ความสนใจในการดูแลรักษาและป้องกันสุขภาพของตนเองกันมากขึ้น       รวมถึงการที่รัฐบาลมีนโยบายด้านสุขภาพในการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ  ซึ่งปัจจุบันการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีตำรับยาที่มีส่วนประกอบของพืชต่าง ๆ ที่ได้รับการสืบทอดมาจากหมอพื้นบ้านหลายตำรับมากมาย ซึ่งในปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะสืบทอดทรัพย์สมบัติทางภูมิปัญญานี้ นอกจากนั้น พืชสมุนไพรที่หายากบางชนิดถูกนำออกจากป่าตามธรรมชาติจนลดจำนวนลงอย่างมาก และสมุนไพรบางชนิด ชุมชนในพื้นที่ยังไม่รู้จัก (วงศ์สถิต  ฉั่วกุล และคณะ, 2554) และการส่งเสริมการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ประกอบกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการเกษตร เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านพืชสมุนไพรประเภทต่างๆ  โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขมูลฐาน   ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามตำรับยาที่มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ได้รับการสืบทอดมาจากหมอพื้นบ้านหลายตำรับมากมาย  ซึ่งในปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา จึงได้มีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศพืชสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้านในภาคเหนือตอนบนขึ้นมา   โดยมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) และสารสนเทศ  ให้มีรูปแบบการเข้าถึงฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้มากขึ้น มีการแสดงความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพร  ตามชื่อพืช ไทย/อังกฤษ  ชื่อวิทยาศาสตร์  ชื่อท้องถิ่น รูปสมุนไพร โรคหรืออาการที่สมุนไพรมีสรรพคุณรักษา เป็นต้น  อันจะนำไปสู่การส่งเสริม สนับสนุน และช่วยอนุรักษ์ตำรับยาไทยจากพืชสมุนไพรตามตำรับยาหมอพื้นบ้าน ที่หายาก ใกล้สูญพันธ์ ให้คงอยู่และยั่งยืนตลอดไป

ข้อตกลงการใช้ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน ในภาคเหนือตอนบน  
                 
ข้อมูลต่างๆที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์นี้  ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้พื้นบ้าน ข้อมูลงานวิจัย  เอกสาร ตำราอ้างอิง และเว็บไซต์ต่างๆ  รวมทั้งสถานที่ที่มีพืชสมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องปรากฏอยู่ตามแหล่งต่างๆ   ซึ่งทางผู้วิจัยไม่รับผิดชอบผลต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการนำข้อมูลไปใช้ในทุกกรณี

:: คณะทำงานวิจัย ::


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ
Asst. Prof. Dr.Ruangchai Juwattanasamran

ตำแหน่งวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์


ตำแหน่งบริหาร
คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร

ruangchai@mju.ac.th

0-5387-3611

ที่ปรึกษา

โครงการวิจัย

การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูล
 สมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน
 ในภาคเหนือตอนบน
    


อาจารย์สุภักตร์ ปัญญา
Mr.Supak Punya

ตำแหน่งวิชาการ
อาจารย์

ตำแหน่งบริหาร
อดีตรองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร
ฝ่ายบริหาร


หลักสูตรวิทยาการสมุนไพร

คณะผลิตกรรมการเกษตร


supak@mju.ac.th

0-5387-3646

หัวหน้าโครงการวิจัย

ออกแบบ/วิเคราะห์/ตรวจสอบ
ข้อมูลสมุนไพร
ในตำรับยาหมอพื้นบ้าน
ในภาคเหนือตอนบน
 

นายสมชาย อารยพิทยา
Mr.Somchai Arayapitaya

ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

somchai@mju.ac.th

0-5387-3278  

นักวิจัย

 วิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนา
โปรแกรม
ฐานข้อมูล
สมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน
ในภาคเหนือตอนบน
 

นางสาววริศรา ทรัพย์โสม
Miss Warissara Sapsom

ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิจัย


weaw.wiie@gmail.com

09-2181-5686  

ผู้ช่วยนักวิจัย

 รวบรวม/จัดเก็บข้อมูล
โปรแกรม
ฐานข้อมูล
สมุนไพรในตำรับยาหมอพื้นบ้าน
ในภาคเหนือตอนบน
       
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ (053) 873611 โทรสาร (053) 498157