ชื่อสมุนไพร |
โกฐจุฬาลัมพา
|
|
|
ชื่อล้านนา |
โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, พิษนาด(ราชบุรี) , ชิงฮาว, แชเฮา
|
ชื่อสามัญ |
Artemisia
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Artemisia vulgaris Linn. หรือ Eupatorium capillifolium (Lamk.) Small
|
ชื่อวงศ์ |
COMPOSITAE
|
สรรพคุณทั่วไป |
แก้ไข้เจลียง (คือไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวันเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ ไข้มาลาเรีย แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ดีซ่าน แพทย์แผนจีนใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ำๆที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรค และแก้ไข้จับสั่น แก้ริดสีดวงทวาร
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ราก ดอก และ ใบ
|
สรรพคุณตามส่วนที่ใช้ทำยา |
รากและดอก มีสารประกอบ polyacetylenes ช่อดอดมีสาร caffeic acids, chlorogenic acids, caffeoylquinic acids และ eudesmane acids เกสรมีสาร glycoproteins ที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูงโดยไม่ลดความดันโลหิตที่อยู่ในระดับปกติ
|
แหล่งอ้างอิง |
ฟรินน์ดอทคอม.2558.[ออนไลน์].แหล่งที่มา http://frynn.com/โกฐจุฬาลัมพา/18 สิงหาคม 2558
|
|
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.2558.แหล่งที่มา http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=28.18 สิงหาคม 2558
|
|
ไทยรัฐออนไลน์.2558.[ออนไลน์]แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/447606.18 สิงหาคม 2558
|
|
นายวุฒิ วุฒิธรรมเวช.2540.สารานุกรมสมุนไพรรวมและเภสัชกรรมไทย . โอเอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ : นายประสิทธิ์ สันติวัฒนา.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |