ชื่อตำรับยา หมอเมืองล้านนา |
ยา ขางปากเปื่อย/ปากเน่า/ปากปู้ด/กิ้นเกาลิ้น-เก๊าเขี้ยว
|
|
|
สมุนไพร ในตำรับยา |
ยาฝนตำรับที่ 1 : ใช้ผลมะกอกเผือก ขางขาว ขางแดง เถารางเย็น หัวรางคาว และหญ้าป่าเห้วหมอง , ยาฝนตำรับที่ 2 : ใช้ ต้นสมอภิเพก สมอไทย แหนเครือ มะขามป้อม เปลือกต้นแคบ้าน (ดอกขาว) และต้นข้าวสารตอก , ยากินแก้ขางตำรับที่ 1 : ใช้ขางหัวหมู ฮ้วนหมู โมกมัน มะขามป้อม เปลือกมะตึ่ง (แสลงใจ) และข้าวสารจ้าว , ยากินแก้ขางตำรับที่ 2 : ใช้ใบกล้วยตีบ บวกหาด หญ้าพรมมิ(เบี้ยน้อย) ชาดก้อนและการบูร
|
ลักษณะอาการ |
มีอาการร้อนในมีกลิ่นปาก ปากเหม็น ปากเป็นแผล ส้มปาก เจ็บแสบ กระพุ้งแก้มเป็นฝ้าขาว มุมปากแตก เป็นตุ่มขาวๆเล็กๆ น้ำลายไหล ลิ้นเป็นหลุม แตกเป็นร่อง กินอาหารรสจัดไม่ได้ ปากและคอฟัก โยกคลอน เหงือกบวมซีด กลืนอาหารลำบาก
|
วิธีการวินิจฉัย |
1) การสังเกตอาการที่ปรากฏ โดยเฉพาะอาการ ปาก ลิ้น เหงือก ฟัน
2) การซักประวัติผู้ป่วย ได้แก่ ลักษณะอาการ พฤติกรรมการกิน และระยะเวลาที่เกิดอาการ
|
วิธีการรักษา |
ยาฝนตำรับที่ 1 ใช้ผลมะกอกเผือก ขางขาว ขางแดง เถารางเย็น หัวรางคาว และหญ้าป่าเห้วหมอง ฝนชุบสำลีแล้วอม
ยาฝนตำรับที่ 2 ใช้ต้นสมอภิเพก สมอไทย แหนเครือ มะขามป้อม เปลือกต้นแคบ้าน(ดอกขาว) และต้นข้าวสารตอก ฝนชุบสำลีและอม
ยากินแก้ขางตำรับที่ 1 ใช้ขางหัวหมู ฮ้วนหมู โมกมัน มะขามป้อม เปลือกมะตึ่ง (แสลงใจ)และข้าวสารจ้าว นำมาตำเป็นผง ห่อผ้าขาว เผาขางสู่ แช่น้ำกิน (จากข้อมูลของหมอสมาน อินต๊ะสิน)
ยากินแก้ขางตำรับที่ 2 ใช้ใบกล้วยตีบ บวกหาด หญ้าพรมมิ(เบี้ยน้อย) ชาดก้อนและการบูร(เล็กน้อย)นำมาตำเป็นผง ห่อผ้าขาวและอม(ใช้กับเด็ก)
|
ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ |
ห้ามกินของหวาน ของมัน ของเผ็ด ของเค็มและห้ามดื่มเหล้า
|
อ้างอิง |
ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐและคณะ.2557.ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา สาขาหมอยา.ชุดโครงการวิจัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชนเผ่าภาคเหนือฯ
|
| |