ชื่อตำรับยา หมอเมืองล้านนา |
ยาขางเข้าไส้/ขางกิ๋นไส้/ขางกั๊ดไส้/ขางปุ๊
|
|
|
สมุนไพร ในตำรับยา |
(ชนิดผง) : เปลือกขางหัวหมู เปลือก "ตันขอ" (พุทราพื้นเมือง) เปลือกกุ๋ก เปลือกกอก หัว "ปูเลย" (ไพล) รากหญ้าคา หัวหญ้า "หนิ้วหนู" (แห้วหมู) เถาหญ้าตดหมา" (ตูดหมูตูดหมา) ข้าวจ้าวสาร หัว"รางคาว" (ว่านน้ำ) หัว "ขมิ้นแกง" (ขมิ้นชัน)
(ยาฝน) : เนื้อไม้ขางชั่งและเนื้อไม้มูลไฟ , ใบ "ขาง" (เหล็กผสมพลวง)
|
ลักษณะอาการ |
มีอาการร้อนใน ร้อนออกปาก ออกคอ น้ำลาย "ปุ๊" (แตกฟอง) น้ำลายย้อย น้ำลายเหนียว กั๊ดเสียบท้อง ปวดในท้องในไส้ ปวดจิ๊ด ๆ ปวดน้อย ๆ แต่ไม่รู้หาย กิ้วท้อง ถ่ายอุจจาระกะปริกะปรอย (ถ่ายบิด) แสบทวารเวลาถ่าย เรอเปรี้ยว กินอาหารไม่ได้ ใจสั่น ซึ่งอาจพบหลายอาการร่วมกันหรือบางอาการขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของการเจ็บป่วย
|
วิธีการวินิจฉัย |
1) จากการสังเกตอาการที่พบ 2) จากการซักถามประวัติผู่ป่วย เช่น ลักษณะอาการ พฤติกรรมการกิน ระยะเวลาที่เกิดอาการ
|
วิธีการรักษา |
ยากินแก้ลม/ยาลม/ยาแก้กินผิด (ชนิดผง) : นำเปลือกขางหัวหมู เปลือก "ตันขอ" (พุทราพื้นเมือง) เปลือกกุ๋ก เปลือกกอก หัว "ปูเลย" (ไพล) รากหญ้าคา หัวหญ้า "หนิ้วหนู" (แห้วหมู) เถาหญ้าตดหมา" (ตูดหมูตูดหมา) ข้าวจ้าวสาร หัว"รางคาว" (ว่านน้ำ) หัว "ขมิ้นแกง" (ขมิ้นชัน) อย่างละเท่ากัน ตากแห้งทั้งหมด แล้วนำไปบดเป็นผง นำมาผสมกัน ชงกิน (ข้อมูลจากหมอจันทร์ ต๊ะมาแก้ว) // ยาฝน : นำเนื้อไม้ขางชั่งและเนื้อไม้มูลไฟ ซึ่งใช้สมุนไพรแห้งฝนกับก้อนหินผสมกับน้ำ แล้วนำใบ "ขาง" (เหล็กผสมพลวง) เผาไฟจนร้อนแดงและนำไปจุ่มน้ำยาที่ฝนไว้ ดื่มกิน
|
ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ |
ควรดื่มน้ำมาก ๆ และห้ามกินของแสลงทุกชนิด เช่น ของหมักดอง ของทะเล อาหารย่อยยาก และอาหารประเภทไขมัน
|
อ้างอิง |
ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐและคณะ.2557.ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา สาขาหมอยา.ชุดโครงการวิจัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชนเผ่าภาคเหนือฯ
|
| |